วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เราเจริญเติบโต



 การเจริญเติบโตของมนุษย์    




    พืชและสัตว์มีการเจริญเติบโต ตัวเราก็มีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับต้นพืช เมื่อก่อนเราตัวเล็ก เดี๋ยวนี้เราตัวโตขึ้น ที่เราตัวโตขึ้น เพราะเราได้กินอาหารทุกวัน อาหารที่เหมาะสม และช่วยให้เด็กๆ อย่างพวกเราเจริญเติบโตได้ดีชนิดหนึ่ง คือ นม
    การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายของเราเจริญเติบโตและแข็งแรง สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีการเจริญเติบโต คือ การมีนํ้าหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น
   ความสูงของร่างกายคนเรา จะเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะกับนํ้าหนักตัวเรา เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูงเต็มที่เมื่อมีอายุระหว่าง 14 – 15 ปี หลังจากนั้นก็จะสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วยเด็กผู้ชายส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นที่เมื่ออายุระหว่าง 17 – 18 ปี หลังจากนั้นส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย



   ร่างกายคนเรา มีการเจริญเติบโตจากวัยทารกสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละ
วัยขนาดของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป
   การเจริญเติบโตทางร่างกายของคนเรา สักเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้
1. นํ้าหนัก
2. ส่วนสูง
3. ความยาวของลำตัว
4. ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่
5. ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
6. ความยาวของเส้นรอบอก
7. การขึ้นของฟันแท้
การวัดการเจริญทางร่างกาย
1. นํ้าหนัก การชั่งนํ้าหนักเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนทำได้ง่าย เด็กที่มีนํ้าหนักลดอย่างรวดเร็ว แสดงว่าสุขภาพและ โภชนาการไม่ดี การชั่งนํ้าหนักหลายๆ ครั้ง แล้วนำมาเปรียบเทียบถึงการเปลี่ยนแปลง จะมีประโยชน์และทราบสภาพของเด็กได้ดีกว่าการชั่งนํ้าหนักเด็กครั้งเดียว เด็กที่อ้วนฉุ มีนํ้าหนักมาก ไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนั้นมีสุขภาพดี เด็กที่มีกล้ามเนื้อสมบูรณ์จะมีสุขภาพดีกว่าเด็กอ้วนฉุและปวกเปียก
 2. ส่วนสูง การวัดส่วนสูงแสดงถึงการเจริญเติบโตของร่างกายที่แน่นอนอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางความสูงจะเกิดขึ้นช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของนํ้าหนัก เด็กที่สูงช้ากว่าปกติแสดงว่ามีสภาพโภชนาการไม่สมบูรณ์เป็นระยะเวลานานพอสมควร เช่น วัยทารก จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน จึงจะเห็นว่าความสูงช้ากว่าปกติ การวัดความสูงทำให้ได้ความแน่นอนยากกว่า การชั่งนํ้าหนัก เด็กอายุตํ่ากว่า 2 ปี ต้องนอนวัดและมีผู้ช่วยคอยจับ
 3. ขนาดของสมอง สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงแรกของชีวิต การประเมินขนาดของสมองอาจทำได้โดยการวัดความยาวของเส้นรอบศีรษะ ในเด็กปกติแรกคลอดมีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร เมื่ออายุ 1 ปี จะยาว 47 เซนติเมตร จากอายุ 1 ปีจนถึง 2 ปี จะยาวขึ้นเพียง
2-3 เซนติเมตร และมีขนาดประมาณ 55 เซนติเมตรเมื่ออายุ 6 ปีเมื่ออายุครบ 1ปี เซลล์ของสมองจะมีการเจริญเกือบสมบูรณ์แต่ทำหน้าที่ยังไม่สมบูรณ์ การทำงานของสมองจะดีหรือไม่ขึ้นกับการที่สมองได้รับอาหาร การกระตุ้น และการใช้อย่างถูกต้อง
4. เนื้อหนัง ลักษณะของผิวหนังและเนื้อทั่วไป จะบอกถึงสภาพโภชนาการว่าดีหรือเลวได้ เช่น ผิวตึง เนื้อเป่ง แขนขาเป็นปล้อง แสดงถึงความสมบูรณ์ พวกผิวหนังแห้ง มีรอยย่นตามยาวของแขนขาคล้ายริ้วปลาแห้ง มีกล้ามเนื้อและไขมันใต้ผิวหนังน้อย กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก แสดงถึงสภาพโภชนาการไม่ดี การดูสภาพเนื้อหนังนี้ เราสามารถวัดได้โดยวัดเส้นรอบวงแขน วัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง หรือวัดขนาดของกล้ามเนื้อ
 5. ฟัน ฟันชุดแรกของเด็ก เรียกว่า "ฟันนํ้านม"มี 20 ซี่ จะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 เดือน และขึ้นครบเมื่ออายุประมาณ 24-30 เดือน การขึ้นของฟันจะมีอันดับก่อนหลังของแต่ละซี่ โดยเริ่มจากฟันหน้ากลางล่าง และสิ้นสุดที่ฟันกรามหน้า การงอกของฟันจะขึ้นกับสภาพโภชนาการของเด็ก เด็กที่ได้รับโภชนาการเลว ฟันจะขึ้นช้า ฟันชุดที่สองเรียกว่า "ฟันแท้" มีจำนวน 32 ซี่ จะเริ่มขึ้นเมื่อ อายุ 6 ปี ที่ฟันหน้าบนก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยๆ แทนฟันนํ้านมที่หลุดไป







การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

การเจริญเติบโตของร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียน
      เด็กก่อนวัยเรียน
    ในวัยนี้จะมีอายุอยู่ในช่วง 3 -6 ปี รูปร่างและสัดส่วนของเด็กจะเปลี่ยนไปจาก
วัยแรกเกิด ดังนี้
       รูปร่างค่อยๆ ยืดตัวออกใบหน้าและศีรษะเล็กลงเมือเทียบกับลำตัว มือและเท้าใหญ่และแข็งแรง อกและไหล่ขยายกว้างขึ้น แต่หน้าท้องแฟบลง

                                                    
     
          เด็กวัยเรียน
    เด็กในวัยเรียนอายุระหว่าง 6 – 12 ปี จะมีการเจริญเติบโต ดังนี้
นํ้าหนักโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 3 กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงเพิ่มประมาณ 4 – 5 เซนติเมตรต่อปี ฟันนํ้านมจะเริ่มหักเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทน






การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วนของร่างกายตามวัย


แผนภูมิแสดงมาตรฐานการเจริญเติบโตของเพศชาย


แผนภูมิแสดงมาตรฐานการเจริญเติบโตของเพศหญิง



การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

     การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น นักจิตวิทยาได้แบ่งช่วงวัยรุ่นและเกณฑ์อายุของแต่ละช่วงวัยได้ดังนี้
         1. วัยย่างเข้าสู้วัยรุ่น หญิงอายุประมาณ 11 – 12 ปี ชายอายุประมาณ 12 – 13 ปี
         2. วัยรุ่น แบ่งออกได้ 3 ช่วง ดังนี้
                 2.1 วัยรุ่นตอนต้น หญิงอายุประมาณ 13 – 15 ปี ชายอายุประมาณ 14 –16 ปี
                 2.2 วัยรุ่นตอนกลาง หญิงอายุประมาณ 16 – 18 ปี ชายอายุประมาณ 17– 19 ปี
            2.3 วัยรุ่นตอนปลาย หญิงอายุประมาณ 19 – 20 ปี ชายอายุประมาณ 20 – 21 ปี

การเจริญเติบโตของเด็กวัยรุ่น



         การเจริญเติบโต หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมีการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์ การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายของวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเป็นเพราะการทำงานของฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ การเจริญเติบโตเด็กวัยรุ่นชายและเด็กวัยรุ่นหญิงจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
        
          1. การเจริญเติบโตของวัยรุ่นชายในช่วงอายุ 12–14 ปี จะมีส่วนสูงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 7– 8 เซนติเมตร ช่วงอายุ 14 –15 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ช่วงอายุ 15 – 17 ปี ส่วนสูงจะเพิ่ม โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 2 - 3 เซนติเมตร ช่วงอายุ 17–18 ปี ส่วนสูงเพิ่ม โดยเฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็จะไม่สูงขึ้นอีกแล้ว ความสูงของผู้ชายจะตามทันและมากกว่าผู้หญิงในช่วงอายุ 13 –14 ปี
        สำหรับนํ้าหนักนั้นในช่วงอายุ 12 –15 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 4–5กิโลกรัม ช่วงอายุ15 -18 ปี นํ้าหนักจะเพิ่ม โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 2–3 กิโลกรัม ช่วงอายุ 18 – 20 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 กิโลกรัม หลังจากนั้นนํ้าหนักก็จะเพิ่มขึ้นอีกปีละเล็กน้อยหรืออาจคงที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร นํ้าหนักจะแปรเปลี่ยนได้ไม่หยุดคงที่เหมือนส่วนสูง และนํ้าหนักของผู้ชายก็จะตามทันและมากกว่าผู้หญิงในช่วงอายุ 13 –14 ปี
         เนื่องจากวัยรุ่นชายซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 12–14 ปี จะมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งกับเพื่อนครอบครัว ตลอดจนโรงเรียนหรือหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เช่น การเล่นกีฬา เล่นดนตรี กิจกรรมพัฒนาชนบท พัฒนาชุมชน จึงทำให้เด็กเกิดความหิวต้องการอาหารในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและควรได้รับสารอาหารที่ครบทุกหมู่ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย
          
          2. การเจริญเติบโตของวัยรุ่นหญิง ในช่วงอายุ 10 –12 ปี จะมีส่วนสูงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร ช่วงอายุ 12 – 13 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 45 เซนติเมตร ช่วง
อายุ 13 – 16 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1-2 เซนติเมตร ช่วงอายุ 16 –17 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็จะไม่สูงอีก แล้วความสูงของผู้หญิงในช่วงอายุ 10 –13 ปี และก่อนอายุ 10 ปี จะสูงกว่าผู้ชายอยู่พอช่วงอายุ 13 –14 ปี ความสูงของผู้ชายจะตามทัน และมากกว่าในช่วงนี้
         สำหรับนํ้าหนักนั้น ในช่วงอายุ 10 – 13 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม ช่วงอายุ 13 –15 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 1 – 2 กิโลกรัม ช่วงอายุ 15 –18 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 – 0.7 กิโลกรัม หลังจากนั้นนํ้าหนักก็จะเพิ่มขึ้นอีกปีละเล็กน้อยหรืออาจคงที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร นํ้าหนักอาจจะแปรเปลี่ยนได้ ไม่หยุดคงที่เหมือนส่วนสูง ทั้งนี้นํ้าหนักของผู้หญิงจะถูกผู้ชายตามทันและมากกว่าในช่วงอายุ 13 –14 ปี



ข้อแนะนำเพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
             1. รับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ 3 มื้อ และครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน
             2. ดื่มนมวันละ 1 - 2 แก้ว เป็นประจำ นมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง คือมีโปรตีน และ
แคลเซียม เพราะแคลเซียมในนมเป็นแคลเซียมที่มีคุณภาพ นมจึงช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตมีรูปร่างสูงใหญ่และแข็งแรง
            3. ออกกําลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที และสมํ่าเสมอไม่ตํ่า
กว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การออกกําลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อยและที่สำคัญจะช่วยให้ร่างกายสูงใหญ่


พัฒนาการในวัยผู้ใหญ่

การวัยผู้ใหญ่ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้คือ
                   1. วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยฉกรรจ์ อายุ 18 – 35 ปี
                   2. วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 35 – 60 ปี
                 3. วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป
      

วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุ 18 – 35 ปี)
      การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีดังนี้ 

    1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายความเจริญเติบโตทางกายสมบูรณ์และพัฒนาเต็มที่ ประสิทธิภาพและความสามารถของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสูงสุด รวมทั้งความสามารถทางด้านการสืบพันธุ์เต็มท
         - ประสิทธิภาพทางร่างกายจะมีสูงสุดในช่วงอายุประมาณ 20 – 30 ปี หลังจากนั้นความสามารถต่าง ๆ ก็จะลดลงอย่างช้า ๆ และจะทรงตัวในอายุ 40- 45 ปี แล้วจึงลดลงต่ออีก
       - ความสามารถและความแข็งแรงของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจะมีมากที่สุดในช่วงอายุ 20 – 30 ปี อัตราการตอบสนองสูงสุดในช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นก็เริ่มลดลง
        
 วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง วัยกลางคน (อายุ 35 – 60 ปี)
          การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยกลางคน มีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเคลื่อนไหวทางด้านกล้ามเนื้อทำงานช้าลง และกําลังเริ่มน้อยลง เหนื่อยง่าย ประสาทสัมผัสต่าง ๆ รับรู้ช้า สายตาเริ่มสั้นหรือยาว รูปร่างเปลี่ยนแปลง ผมเริ่มหงอก ความต้องการทางเพศลดลง ผู้หญิงอายุประมาณ 45-60 ปี ประจำเดือนจะหมด วัยนี้โรคภัยไข้เจ็บเริ่มรบกวน เช่นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้ไม่มีแรงเกิดความเฉื่อยชา
          วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยชรา
   1. การเปลี่ยนแปลงทางกายและประสาทสัมผัส ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนวัยชราจะเป็นไปในลักษณะเสื่อมโทรม ลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความชราภาพที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ
- ผิวหนังจะแห้งหยาบ
- ฟันในวัยชราจะร่อยหรอไปหมด
- ดวงตาจะฝ้าฝาง
- ผมจะบางและหงอก



อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย



           ร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยอวัยวะภายนอกและภายใน อวัยวะภายในร่างกาย ได้แก่ อวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ปาก,หลอดอาหาร,กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก,ลำไส้ใหญ่, ถุงนํ้าดี,ทวารหนัก อวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ เช่น จมูก, ปอด, หัวใจ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะมีหน้าที่แตกต่างกันแต่มีความสัมพันธ์กัน
           หน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ
- ปาก เป็นอวัยวะ ส่วนแรกที่มีหน้าที่ บด เคี้ยว อาหาร
- กระเพาะ มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อจากปาก
 - ลำไส้เล็ก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อจากกระเพาอาหาร และมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย
- ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ลำเลียงกากอาหารสู่ออกมาจากทวารหนัก
- ทวารหนัก มีหน้าที่ขับถ่ายของกากอาหารออกจากร่างกาย
- จมูก เป็นอวัยวะส่วนแรกที่สูดอากาศเข้าสู่ร่างกาย
- หลอดลม เป็นทางเดินของอากาศเข้าสู่ปอด
- ปอด มีหน้าที่ใช้อากาศฟอกโลหิต
- หัวใจ มีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเข้าสู่ปอดนำไปเลี้ยงร่างกาย
การดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ
- ปาก ดูแลรักษาโดยการแปรงฟัน ไม่เคี้ยวอาหารที่แข็งมากๆ
- ลำไส้เล็ก ดูแลรักษาโดยรับประทานอาหาร ให้ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารรสจัด
- ลำไส้ใหญ่ ดูแลรักษาโดยขับถ่ายให้เป็นเวลา กินผักเป็นประจำ เพื่อช่วยระบบขับถ่าย
- ทวารหนัก ดูแลรักษาโดยชำระล้าง ทำความสะอาดเป็นพิเศษ
 - จมูก ดูแลรักษาโดยไม่ใช้ของแข็งแคะรูจมูก ไม่สั่งนํ้ามูกแรงๆ
 - ปอด ดูแลรักษาโดยไม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ฝุ่นละอองเยอะ
 - หัวใจ ดูแลรักษาโดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ ไม่ดื่มของมึนเมา





ระบบการย่อยอาหาร

   ระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่ย่อย และดูดซึมสารอาหาร เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย ระบบย่อยอาหารจะประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่การย่อยอาหารในทางเดินอาหาร มี 2 วิธีคือ                      

        1. การย่อยเชิงกล เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง โดยการบดเคี้ยวของฟัน การบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร

        2. การย่อยทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง โดยใช้นํ้าย่อยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้อาหารมีโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมไปเลี้ยงร่างกายได้

การย่อยทางเคมีมีความแตกต่างกับการย่อยเชิงกล คือ นอกจากจะเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหาร แล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของสารอาหารด้วย


  อวัยวะในระบบย่อยอาหาร

      
       1.ปาก ฟันบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง ลิ้นช่วยตะล่อมอาหาร ชิ้นเล็กๆ ให้รวมเป็นก้อนเพื่อสะดวกใน

การกลืน
 
                                         

     2. หลอดอาหาร เมื่ออาหารถูกกลืนลงในคอ อาหารจะผ่านต่อไปทาง คอหอยลงไปในหลอดอาหาร ซึ่งมี กล้ามเนื้อ ช่วยผสม อาหารและผลักดันให้อาหารเคลื่อนลงไปสู่กระเพาะอาหาร




    3. กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารมีรูปร่างเป็นตัว J เป็นส่วนทางเดินอาหารที่ขยายใหญ่ สามารถรองรับอาหาร ได้ 2 - 4 ลิตร อาหาร จะถูกเก็บไว้ที่นี่ เพื่อให้กล้ามเนื้อกระเพาะบีบนวดอาหาร ให้มีขนาดเล็กลงไปอีก ในกระเพาะอาหารมีสารเคมีที่ทำ ให้อาหารมีขนาดเล็กลง จนมีอาหารลักษณะเป็นของเหลวข้น



    4. ลำไส้เล็ก ของเหลวข้นจะเคลื่อนต่อไปยังลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุด ของทางเดินอาหาร (เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตรแต่เป็นส่วนที่ยาวที่สุด ที่นี่อาหารจะถูกย่อย จนเล็กลงถึงขนาด ที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต



    5. ลำไส้ใหญ่ อาหารส่วนที่ย่อยไม่ได้จะผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ นํ้าและเกลือ จะถูกดูดซึม โดยลำไส้ใหญ่อาหารที่ย่อยไม่ได้หรือกาก อาหาร เซลล์ที่ตายแล้ว แบคทีเรียที่ตายแล้วที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ รวมเรียกว่าอุจจาระ กล้ามเนื้อในลำไส้ใหญ่ จะขับอุจจาระออก ไปทางทวารหนัก 



   6. ทวารหนัก ทวารหนักเป็นทางออกของอุจจาระทวารหนักมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง การบีบและคลายตัว ของกล้ามเนื้อทวารหนัก ช่วยให้ร่างกาย กําจัดกากอาหาร (ของเสียที่เป็นของแข็งออกไป