สารอาหาร อาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ประกอบด้วยสารอาหารหลายประเภท คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่
ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน
- กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน
สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และจะขาดไม่ได้
1. คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่ให้พลังงานที่สำคัญแก่ร่างกาย มักพบอยู่ในรูปของแป้ง และนํ้าตาลเป็นส่วนใหญ่ พบมากในข้าว แป้ง ขนมปัง ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี หากปริมาณคาร์โบไฮเดรตในร่างกายมีมากเกินความต้องการ ร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินนี้ให้อยู่ในรูปของไกลโคเจนและเก็บสะสมไว้ในร่างกาย
2. ไขมัน สารอาหารประเภทไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง ประกอบด้วยกรดไขมันและ
กลีเซอรอล พบมากในไขมันจากพืช มันสัตว์ นม เนย ถั่ว กรดไขมันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 กรดไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันที่พบมากในเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง กุ้ง ปู นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไขมันประเภทนี้ หากมีมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นไขมันที่พบมากในถั่ว เต้าหู้ เห็ด นํ้ามันพืช (ยกเว้นนํ้ามันมะพร้าว นํ้ามันปาล์ม) ช่วยลดการดูดซึมไขมันอิ่มตัว ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน
สำหรับไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี สารอาหารประเภทไขมันช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และ เค ไขมันที่มีมากเกินความต้องการของร่างกายจะถูกสะสมเป็นชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย
3. โปรตีน สารอาหารประเภทโปรตีน เป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นที่สองรองจากนํ้า มี
หน่วยย่อยที่เล็กที่สุด คือกรดอะมิโน ซึ่งมีประมาณ 12 -22 ชนิด แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย
สารอาหารประเภทโปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมน และเอนไซม์ รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตัน และสร้างภูมิคุ้มกันโรค โปรตีนจะพบมากในไข่ นม เนื้อสัตว์ ถั่ว ข้าว ข้าวโพด ผักและผลไม้บางชนิด โปรตีนในเนื้อสัตว์เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เพราะมีกรดอะมิโนครบตามความต้องการของร่างกาย แต่หากผู้ใดไม่รับประทานเนื้อสัตว์ก็สามารถรับประทานอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด ผัก และผลไม้ชดเชยได้ แต่อาหารประเภทนี้ก็จะมีกรดอะมิโนไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอร
สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ไม่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องการในปริมาณน้อยแต่ขาดไม่ได้ ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ และนํ้า
1. วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายโดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ เช่น วิตามินซีจากผักและผลไม้ เป็นต้น
วิตามินจำแนกตามลักษณะของการละลายได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 วิตามินที่ละลายในนํ้า ได้แก่ วิตามินบีและวิตามินซี
1.2 วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
2. แร่ธาตุ เป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ให้พลังงาน แต่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ ประโยชน์ของแร่ธาตุที่มีต่อร่างกายมีดังนี้
- เป็นส่วนประกอบของอวัยวะบางอย่าง เช่น กระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท เป็นต้น
- เป็นส่วนประกอบของสารต่างๆในร่างกาย เช่น เลือด นํ้าในเซลล์ เป็นต้น
- ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆให้ทำหน้าที่เป็นปกติ
- ร่างกายของคนมีความต้องการแร่ธาตุต่างๆ หลายชนิดและต้องการในปริมาณ ที่แตกต่างกัน
3. นํ้า เป็นสารที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในร่างกายของเรามีนํ้าเป็นองค์ประกอบอยู่ 2 ใน 3 ส่วนของนํ้าหนักตัว นํ้าจึงมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้
3.1 เป็นองค์ประกอบของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น เลือด ตับ ไต ลำไส้ หัวใจ เป็นต้น
3.2 ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
3.3 ช่วยให้กลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายเป็นไปตามปกติ
3.4 ช่วยกําจัดของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ ร่างกายจะได้รับนํ้าโดยตรงจากการดื่มนํ้าสะอาดและได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งมีปริมาณนํ้าเป็นองค์ประกอบในปริมาณที่แตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น