วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อัตราการเต้นของหัวใจ

       หัวใจจะบีบตัวและคลายตัวเป็นจังหวะตลอดเวลาซึ่งทราบได้จากฟังการเต้นของหัวใจหรือจากการจับชีพจร

                             
        ชีพจรมีอยู่ในเส้นเลือดทุกเส้น แต่สามารถคลำได้ชัดเจนที่สุด คือ เส้นเลือดที่อยู่ใกล้ข้อมือด้านหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกระดูกรองรับ การตรวจวัดชีพจร สามารถใช้ปลายนิ้วสัมผัส จะรู้สึกมีแรงกระทบเบาๆ ซึ่งเป็นจำนวนที่บ่งชี้จำนวนครั้งที่หัวใจบีบตัว
     

    ค่าปกติของชีพจร
      ขณะตื่นนอนตอนเช้า การเต้นของชีพจรในผู้ใหญ่เพศชายที่สุขภาพสมบูรณ์ประมาณ 60-65 ครั้ง/นาที การเต้นของชีพจรสำหรับผู้หญิงเร็วกว่าผู้ชายเล็กน้อยประมาณ 7-8 ครั้ง/นาที ชีพจรเปลี่ยนแปลงตามอายุจะลดลงทีละเล็กละน้อย ตั้งแต่เกิดจนถึงวัยหนุ่มสาวและจะเพิ่มในอายุค่อนข้างสูงมาก คนผอมสูงชีพจรเต้นช้ากว่าคนอ้วนเตี้ย ดังนั้น จึงควรบันทึกขนาดและรูปร่างของร่างกายแต่ละคน เพราะอาจมีผลต่อการเต้นของชีพจร สมาคมหัวใจของอเมริการยอมรับว่าผู้ใหญ่ปกติมีการเต้นของชีพจรระหว่าง 50-100 ครั้ง/นาที
    
   การเต้นของชีพจรที่ผิดปกติ
      1) ชีพจรเต้นช้ากว่า 50 ครั้ง/นาที เรียกว่า หัวใจเต้นช้า คนที่ออกกําลังกายสมํ่าเสมอ เช่น นักกีฬา หัวใจจะเต้นช้า อาจจะช้าลงถึง 40 ครั้ง/นาที การที่หัวใจเต้นช้าจึงไม่ใช่สิ่งผิดปกติเสมอไป นอกจากจะมีอาการหน้ามืดเป็นลม เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หรือหมดสติด้วย จึงถือว่าผิดปกติจำเป็นต้องรักษา
     
      2) ชีพจรเต้นเร็วกว่า 110 ครั้ง/นาที เรียกว่า หัวใจเต้นเร็ว คนที่มีรูปร่างเล็ก เช่นเด็กทารก หัวใจยิ่งเต้นเร็ว อาจเต้นถึง 110-120 ครั้งใหม่ๆ หรือตื่นเต้น โกรธ กลัว ตกใจ หรือมีอารมณ์รุนแรงอื่นๆ ก็จะมีหัวใจเต้นเร็วได้ ซึ่งถือว่าเป็นปกติ แต่ถ้าหัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที ตลอดเวลาแม้แต่ขณะหลับจะถือว่าผิดปกติ วึ่งในกรณีเช่นนี้จะต้องทำการรักษาการเต้นชีพจรเร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที สามารถแบ่งตามสาเหตุการเกิดได้ดังนี้
      ก. ชีพจรเต้นระหว่าง 100-160 ครั้ง/นาที อัตราของหัวใจจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่นนาทีนี้จับชีพจรได้ 140 ครั้ง/นาที อีก 2-3 นาที จับชีพจรใหม่ได้ 120 ครั้ง/นาที หรือชีพจรในท่านั่ง ท่านอนและท่ายืนจะต่างกัน เป็นต้น ลักษณะการเต้นของหัวใจแบบนี้ เรียกว่าหัวใจเต้นเร็วแบบธรรมดาซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความเคร่งเครียดกังวล การออกกำลังกาย และอารมณ์รุนแรงต่างๆ ส่วนน้อยเกิดจากการมีไข้สูง  ภาวะคอพอกเป็นพิษ และอื่นๆ
     . ชีพจรเต้นมากกว่า 160 ครั้ง/นาที และไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เช่นนาทีนี้จับชีพจรได้ 180 ครั้ง/นาที อีก 2-3 นาที ก็จับชีพจรได้เท่าเดิม ไม่ว่าจะนอน นั่ง ก็จับชีพจรได้เท่ากัน ลักษณะการเต้นของหัวใจแบบนี้ เรียกว่า หัวใจห้องบนเต้นเร็ว เกิดขึ้นเฉพาะบางคนที่มีการดำเนินชีวิต ที่ไม่เหมาะสม เช่นทำงานหนักเกินไป อดหลับอดนอน เคร่งเครียด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น