วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พัฒนาการในวัยผู้ใหญ่

การวัยผู้ใหญ่ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้คือ
                   1. วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยฉกรรจ์ อายุ 18 – 35 ปี
                   2. วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 35 – 60 ปี
                 3. วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป
      

วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุ 18 – 35 ปี)
      การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีดังนี้ 

    1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายความเจริญเติบโตทางกายสมบูรณ์และพัฒนาเต็มที่ ประสิทธิภาพและความสามารถของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสูงสุด รวมทั้งความสามารถทางด้านการสืบพันธุ์เต็มท
         - ประสิทธิภาพทางร่างกายจะมีสูงสุดในช่วงอายุประมาณ 20 – 30 ปี หลังจากนั้นความสามารถต่าง ๆ ก็จะลดลงอย่างช้า ๆ และจะทรงตัวในอายุ 40- 45 ปี แล้วจึงลดลงต่ออีก
       - ความสามารถและความแข็งแรงของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจะมีมากที่สุดในช่วงอายุ 20 – 30 ปี อัตราการตอบสนองสูงสุดในช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นก็เริ่มลดลง
        
 วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง วัยกลางคน (อายุ 35 – 60 ปี)
          การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยกลางคน มีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเคลื่อนไหวทางด้านกล้ามเนื้อทำงานช้าลง และกําลังเริ่มน้อยลง เหนื่อยง่าย ประสาทสัมผัสต่าง ๆ รับรู้ช้า สายตาเริ่มสั้นหรือยาว รูปร่างเปลี่ยนแปลง ผมเริ่มหงอก ความต้องการทางเพศลดลง ผู้หญิงอายุประมาณ 45-60 ปี ประจำเดือนจะหมด วัยนี้โรคภัยไข้เจ็บเริ่มรบกวน เช่นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้ไม่มีแรงเกิดความเฉื่อยชา
          วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยชรา
   1. การเปลี่ยนแปลงทางกายและประสาทสัมผัส ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนวัยชราจะเป็นไปในลักษณะเสื่อมโทรม ลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความชราภาพที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ
- ผิวหนังจะแห้งหยาบ
- ฟันในวัยชราจะร่อยหรอไปหมด
- ดวงตาจะฝ้าฝาง
- ผมจะบางและหงอก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น